Kor Kaew Pid Sa Darn

ถาปัดจุฬาฯ อาสาพัฒนาชนบท ค่าย 82 เรือนก่อแก้วพิสดาร

Published on 03.03.2022

From 1979 to 1984, the province of Kanchanaburi witnessed the construction of the Vajiralongkorn dam.

The dam came with promises of modernity, but it also brought with its hardships. Many villages in the Thong Pha Phum district, where the dam is situated, were left completely cut off from the rest of the world after its construction. Transportation and communication were near impossible, and many villagers were forced to abandon their hometown.

Under these conditions, the Baan Mai Rai Pah branch of the Pieng Luang 3 School was left neglected without proper access to educational resources or spaces. The shortage of space, in particular, left some of the students with no other options but to transfer to another school to receive their education.

The 82th Rural Development Camp Volunteers from the Faculty of Architecture, Chulalongkorn University was given the opportunity to design and construct “Kor Kaew Pid Sa Darn” (“The Miracle Glass Blocks”), a classroom designed to help alleviate the school’s lack of proper educational spaces. Due to the fact that the school is located further into the Vajiralongkorn dam, transportation and delivery of construction materials were extremely challenging. This, in combination with budget and time restraint, meant that the project had to be precisely planned out to avoid difficulties during the construction period.

The Kor Kaew Pid Sa Darn classroom, designed and built by the Rural Development Volunteers within 16 days, is a 5.85×9 m classroom with 1.5 cantilevered floors on both sides. Due to the limitation on both time and budget, the design team decided to use metal and concrete for the structural system of the building. The walls on the shorter sides of the building were finished with wooden planks, while a combination of concrete blocks, wooden planks and glass blocks were used for the longer sides. The glass blocks were used to bring natural light into the classroom. The design team also left spaces on the upper corner of the walls to allow for air ventilation.

Kor Kaew Pid Sa Darn not only helped increase the number of students the school can support to 67, but also served as a small area for us, the Rural Development Volunteers, to gain priceless experience in construction, design, and many other valuable life lessons which cannot be found elsewhere. We, the volunteers from Faculty of Architecture, Chulalongkorn University sincerely hope that Kor Kaew Pid Sa Darn will be able to fulfil its purpose as a venue where the students of Baan Mai Rai Pah can experience the joy of learning — just as it had been for us as well.

 

ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ในจังหวัดกาญจนบุรี หลายชุมชนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ทำให้การเดินทาง การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ข้อจำกัดดังกล่าว ส่งผลให้บางชุมชนในพื้นที่เลือกที่จะละทิ้งภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่

โรงเรียนเพียงหลวง 3 (บ้านใหม่ไร่ป้า) ที่ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนวชิราลงกรณ์นี้ เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อน อุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้นักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาดังสมควร และข้อจำกัดทางพื้นที่ยังส่งผลให้นักเรียนบางส่วนจำต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่นอีกด้วย

กลุ่มค่ายอาสาพัฒนาชนบท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสออกกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาชนบทครั้งที่ 82 เพื่อไปสร้าง “เรือนก่อแก้วพิสดาร” อาคารเรียนที่ใช้รองรับนักเรียนที่ขาดแคลนพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ เนื่องจากตัวโรงเรียนอยู่ในชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไปในตัวเขื่อน การเดินทาง และการขนส่งวัสดุในการก่อสร้าง จึงเป็นไปได้อย่างยากลำบาก อีกทั้งด้วยงบประมาณและเวลาที่จำกัด ทำให้การวางแผนการทำงานต้องเป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ และรวดเร็ว

“เรือนก่อแก้วพิสดาร” เป็นอาคารเรียนที่ถูกออกแบบและลงมือก่อสร้างโดยกลุ่มค่ายอาสาพัฒนาชนบท มีขนาด 5.85 เมตร x 9 เมตร ยื่นพื้นออกไปทั้งสองฝั่ง ฝั่งละ 1.5 เมตร เป็นระบบโครงสร้างเหล็กและคอนกรีต ตามบริบทของการก่อสร้างที่จำกัด ทั้งในเรื่องงบประมาณและเวลาที่จำกัดเพียงแค่ 16 วัน ผนังด้านสั้นเป็นผนังตีไม้เว้นร่อง และผนังด้านยาวเป็นการแบ่งจังหวะผสมกันระหว่างผนังก่ออิฐฉาบปูน ผนังตีไม้เว้นร่อง และแนวบล็อกแก้ว ที่ตั้งใจใช้เพื่อนำแสงเข้าสู่ตัวอาคารเรียนให้เหมาะสมต่อการเรียนการสอน บริเวณด้านบนของผนังด้านยาวนั้น ยังมีการเว้นช่องลมไว้สำหรับการระบายอากาศอีกด้วย “เรือนก่อแก้วพิสดาร” แห่งนี้ นอกจากจะทำให้โรงเรียนเพียงหลวง 3 สามารถรองรับนักเรียนได้เพิ่มมากขึ้นถึง 30 คน แล้วยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่เล็ก ๆ ที่เปิดโอกาสให้เหล่าชาวค่ายอาสาพัฒนาชนบท ได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียนและจากที่ใดในโลก ทั้งในเรื่องการก่อสร้าง วิถีชีวิต การอยู่ร่วมกัน และเรื่องอื่น ๆ อีกมาก พวกเรา นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

“เรือนก่อแก้วพิสดาร” แห่งนี้ จะทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มโอกาสทางการศึกษาในส่วนที่ขาดหายของน้อง ๆ และในขณะเดียวกัน ก็มอบประสบการณ์ที่ประเมินค่าไม่ได้ให้กับพวกเรา กลุ่มค่ายอาสาด้วยเช่นกัน

Related news ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง